Friday 18 April 2008

โรคเกาท์ (Gout) การรักษา

การรักษาเก๊าท์แบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่
1. การรักษาข้ออักเสบ ในช่วงนี้แพทย์จะใช้ยาลดการอักเสบของข้อก่อน โดยใช้ยา โคลชิซิน หรือยาแก้ปวดลดอักเสบ
หรือใช้ร่วมกัน เพื่อลดอาการปวดข้อและอักเสบ ยาโคลชิซินโดยทั่วไปแนะนำให้ใช้ ไม่เกินวันละ 3-4 เม็ด
โดยกินยาทุก 4 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด
การใช้ยาตามคำแนะนำของต่างประเทศที่ว่าให้กินทุก 1 ชั่วโมงจนหายปวดหรือจนเกิดผลข้างเคียงคือท้องเสียนั้น
ไม่สมควรอย่างยิ่ง เพราะข้อไม่เคยหายอักเสบก่อนท้องเสียเลย ดังนั้นผู้ป่วยจะท้องเสียทุกรายและมีความรู้สึก
ที่ไม่ดีต่อการใช้ยานี้ การกินยาไม่เกิน 3-4 เม็ดต่อวัน โอกาสเกิดผลข้างเคียงนี้ น้อยมาก
ผู้ป่วยเก๊าท์ในระยะข้ออักเสบ ห้ามนวด! เด็ดขาด เพราะจะทำให้ข้ออักเสบเป็นรุนแรงขึ้น หายช้าลงได้

2. การลดกรดยูริคในเลือด โดยใช้ยาลดกรดยูริค ในผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบมากกว่า 1 ครั้ง ควรให้ยาลดกรดยูริคถ้าทำได้
การกินยาดังกล่าวจำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอไปนานหลายปี ทั้งนี้เพื่อลดระดับยูริคในเลือดลง
ทำให้ตะกอนยูริคที่สะสมอยู่ละลายออกจนหมด ผู้ป่วยจะสามารถหายจากโรคเก๊าท์ได้

    แต่ข้อควรระวังคือ
- ยาลดกรดยูริค มีผลข้างเคียงที่แม้จะพบไม่มากแต่สำคัญ คือทำให้เกิดผื่นแพ้ยารุนแรง และลอก เป็นอันตรายมาก
การกินยาไม่สม่ำเสมอ กิน ๆ หยุด ๆ เสี่ยงต่อการแพ้ยามาก ดังนั้นผู้ป่วยที่ไม่สามารถจะกินยาสม่ำเสมอได้ ไม่แนะนำให้กินยา
- เนื่องจากผู้ป่วยที่เป็นเก๊าท์ ให้การวินิจฉัยโดยลักษณะอาการทางคลินิค ไม่ได้อาศัยการเจาะตรวจยูริคในเลือด
ดังนั้นผู้ที่เจาะเลือดแล้วมียูริคสูง ไม่ได้บอกว่าเป็นเก๊าท์ ถ้าไม่มีอาการข้ออักเสบแบบเก๊าท์มาก่อน ไม่จำเป็นต้องรักษา
มีผู้เข้าใจผิดอยู่มาก โดยให้กินยาลดกรดยูริคเมื่อตรวจพบเพียงแต่ยูริคในเลือดสูง เพราะยูริคในเลือดสูง ไม่ได้เป็นเก๊าท์ทุกราย
แต่การกินยาจะเสี่ยงต่อการแพ้ยาข้างต้นได้

โดย นพ.มานพ พิทักษ์พากร อายุรแพทย์

โรคเกาท์ (Gout) Food

อาหาร VS เก๊าท์

โรคเก๊าท์ คือ อาการของโรคไขข้ออักเสบชนิดหนึ่งเกิดเนื่องจากภาวะที่ร่างกายมีการคั่งของสารยูริค แอซิด ร่วมกับการมีการตกตะกอนของสาร Uric Acid ในข้อที่กำลังอักเสบ
สารยูริค คือ สารที่ได้มาจากการย่อยสลายของสารอาหารที่มีพิวรีน ( purine ) เป็นส่วนประกอบและในร่างกายก็ได้มาจากอาหารที่รับประทานเข้าไป
อาหารที่มีพิวรีนมาก อาหารที่มีพิวรีนปานกลาง อาหารที่มีพิวรีนน้อย
  • ตับอ่อน
  • เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
  • ไข่ปลา
  • ปลาไส้ตัน
  • ปลาอินทรีย์ ปลาดุก
  • ปลาซาดีนกระป๋อง
  • มันสมองวัว
  • กุ้งชีแฮ หอย
  • ถั่วดำ-เขียว-แดง-เหลือง
  • น้ำสลัดเนื้อ ซุปก้อน
  • แตงกวา
  • ชะอม
  • สะเดา
  • กระถิน
  • เนื้อหมู วัว ไก่ แกะ
  • ปลากระพงแดง
  • ปลาหมึก
  • ปู
  • ใบขี้เหล็ก
  • สะตอ
  • ข้าวโอ๊ต
  • ผักโขม
  • เมล็ดถั่วลันเตา
  • หน่อไม้
  • นมสด, ผลิตภัณฑ์จากนม
  • ไข่ (ไม่ใช่ไข่แดง )
  • ธัญพืชต่างๆ
  • ผักทั่วไป
  • น้ำตาลและขนมหวาน
  • เจลาติน
  • ข้าว
  • ขนมปังไม่เกิน 2 แผ่น/มื้ออาหาร
  • เนยเหลว เนยแข็ง

นอกจากการงดเว้นอาหารแล้ว ยังจะต้องงดเว้นการรับประทานอาหารในปริมาณมากๆในคราวเดียวกันด้วย

โรคเกาท์ (Gout) อาหารแสลง

อาหารแสลง
ถ้าต้องการให้หายขาดหรือไม่กลับเป็นใหม่ ต้องขะลำ ( ภาษาอีสาน := งด ) ของแสลง ต่อไปนี้ให้ได้
ผักที่ห้าม หน่อไม้ ผักชะอม ( ผักขา : อีสาน /ผักหละ : เหนือ ) ผักดองทุกชนิด
พวกแมลง ตัวอ่อนของแมลง เช่นไข่มดแดง ดักแด้ ตั๊กแตน กุดจี่ แมงกินนูน
เนื้อสัตว์ หนู วัว ควาย สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ทุกชนิด
อื่น ๆ ผงชูรส กุ้ง ปลาซิว ขนมจีน

อาหารเสริม ที่ช่วยขจัดกรดยูริกทางไต

อาหารเสริม ที่ช่วยขจัดกรดยูริกทางไตได้ดี คือ วิตามินซี และ สารอาหาร ที่ช่วยลดการอักเสบ บวมแดง คือ omega 3 (fatty acid) การออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อน ดื่มน้ำ ให้เพียงพอก็เป็นการดูแลตัวเองที่ต้องทำให้เป็นประจำ เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้

โรคเกาท์ (Gout) 3

โรคเก๊าท์ (Gout)

อ.นพ.สมบูรณ์ อินทราภาพร

โรคเก๊าท์เป็นโรคที่เกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดสูง ร่วมกับมีอาการที่เกิดจากการตกผลึกของกรดยูริกในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆข้อ ทำให้เกิดการอักเสบเฉียบพลันของข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆข้อ การเกิดเก๊าท์มักต้องมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 20 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าระดับกรดยูริกยิ่งสูง อุบัติการณ์ในการเกิดโรคจะยิ่งเพิ่มสูงขึ้น และจะเกิดอาการได้เร็วยิ่งขึ้น ในเพศชายจะพบโรคนี้ได้บ่อยกว่าเพศหญิงประมาณ 2 เท่า แต่วัยหลังหมดประจำเดือนแล้วเพศหญิงจะมีความชุกของโรคสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเพศชาย

โรคเก๊าท์มีอาการอย่างไร

จะเริ่มจากมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานก่อน โดยเฉลี่ยมักไม่น้อยกว่า 20 ปี การอักเสบของข้อครั้งแรกมักพบในผู้ป่วยชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 40-60 ปี แต่ในเพศหญิงมักพบหลังวัยหมดประจำเดือนแล้ว ข้ออักเสบในระยะแรกมักเป็นเพียง 1-2 ข้อ จะมีการอักเสบรุนแรงเป็นเฉียบพลัน จากระยะเริ่มปวดจนอักเสบเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมง มักเป็นที่ข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า หรือข้อเข่า บ่อยครั้งที่เป็นในเวลากลางคืนขณะหลับ ระยะแรกข้ออักเสบมักเป็นไม่นาน 2-5 วัน บางรายมีไข้ได้ ในผู้สูงอายุบางครั้งอาจมีข้ออักเสบหลายข้อพร้อมกันโดยเฉพาะเป็นที่ข้อนิ้วมือ 2 ข้างตั้งแต่ระยะแรกของโรคซึ่งอาจได้ประวัติได้รับยาขับปัสสาวะร่วมด้วย หลังจากข้ออักเสบหายแล้วผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเกิดข้ออักเสบซ้ำภายใน 6 เดือนถึง 2 ปี ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง จำนวนข้อที่อักเสบจะเพิ่มขึ้น เริ่มพบที่ข้อมือ ข้อนิ้วมือ และข้อศอก การอักเสบรุนแรงขึ้น เป็นถี่ขึ้นและนานขึ้น จนกลายเป็นการอักเสบเรื้อรังไม่มีช่วงหายสนิท ระยะนี้มักพบตุ่มโทฟัส (tophus) ใต้ผิวหนัง ตามเนื้อเยื่อต่างๆรอบข้อ ระยะเวลาตั้งแต่ข้ออักเสบครั้งแรกจนถึงระยะนี้ใช้เวลาเฉลี่ย 11.6 ปี แต่ถ้าเริ่มมีข้ออักเสบเป็นครั้งแรกในวัยสูงอายุ ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ข้ออักเสบครั้งแรกจนถึงระยะที่เกิดตุ่มโทฟัสจะสั้นลง คือมีแนวโน้มเกิดตุ่มโทฟัสเร็วและมักพบตามนิ้วมือแทนที่จะพบบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อศอก หรือข้อเข่าก่อน

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบหรือทำให้ข้ออักเสบหายช้าได้แก่อะไรบ้าง

ได้แก่ การได้รับยาบางชนิดเช่นยาลดกรดยูริก ยาขับปัสสาวะ หรือยาแอสไพริน เป็นต้น ดังนั้นไม่ควรเริ่มยาหรือปรับเปลี่ยนยาดังกล่าวขณะที่มีข้ออักเสบ เพราะจะทำให้มีอาการมากขึ้นหรือหายช้า นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นได้แก่ การบาดเจ็บที่ข้อ การบีบนวดข้อ การดื่มแอลกอฮอล์ การผ่าตัด การเสียเลือด การเสียน้ำ และการติดเชื้อ เป็นต้น

จะดูแลรักษาอย่างไร

การรักษาในระยะที่มีการอักเสบของข้อ ควรพักการใช้งานของข้อนั้น หลีกเลี่ยงการบีบนวดข้อ การประคบข้อ และเริ่มรักษาโดยเร็วโดยใช้ยาลดการอักเสบของข้อ ปัจจุบันที่นิยมใช้มียาโคลชิซิน (colchicine) และยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) ยาโคลชิซิน ขนาดยาที่ใช้ 1 เม็ด (0.6 มิลลิกรัม ) รับประทานทุก 4-6 ชั่วโมงในวันแรก และลดเหลือวันละ 2 เม็ดในวันต่อมา ( ทั้งนี้ขึ้นกับการทำงานของไต สำหรับผู้สูงอายุอาจต้องลดขนาดยาลงโดยเฉพาะในวันแรก ) ให้นาน 3-7 วันหรือจนกว่าการอักเสบของข้อจะหายดี ผลข้างเคียงคือท้องเดินหรือคลื่นไส้อาเจียน ถ้ามีอาการดังกล่าวให้หยุดยา สำหรับยาต้านการอักเสบ (NSAIDs) สามารถให้ได้เช่นกัน ควรเลือกยาชนิดที่ค่าครึ่งชีวิตสั้น ออกฤทธิ์เร็ว จะให้ นาน 3-7 วัน หรือจนกว่าข้อที่อักเสบจะหายดี ข้อห้ามในการใช้ยาต้านการอักเสบคือผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหาร การทำงานของไตบกพร่อง หรือมีโรคตับเป็นต้น ถ้าจำเป็นต้องใช้จะต้องประเมินปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ นอกจากนี้ไม่ควรให้มีการเปลี่ยนแปลงระดับยูริกในระยะนี้เช่นผู้ป่วยที่ทานยาลดกรดยูริกในเลือดอยู่ไม่ควรให้หยุดยาหรือปรับเปลี่ยนขนาดยา หรือยังไม่ได้รับยาลดกรดยูริกมาก่อนแพทย์ไม่ควรเริ่มยาลดกรดยูริกในระยะนี้

การรักษาระยะยาวเพื่อป้องกันการอักเสบซ้ำ

การป้องกันการเกิดข้ออักเสบซ้ำ ภายหลังจากข้ออักเสบหายแล้วถ้าผู้ป่วยมีข้ออักเสบเป็นซ้ำ อีกหลายครั้งใน 1 ปีจะแนะนำให้ทานยาโคลชิซินป้องกันโดยให้ขนาด 0.6-1.2 มิลลิกรัม / วัน จนกว่าตรวจไม่พบตุ่มโทฟัส ระดับกรดยูริกในเลือดลงต่ำกว่า 4-5 มิลลิกรัม / เดซิลิตร และไม่มีข้ออักเสบเลยอย่างน้อย 3-6 เดือน

การรักษาภาวะกรดยูริกในเลือดสูง โดยมีเป้าหมายเพื่อไปละลายกรดยูริกหรือผลึกยูเรตที่อยู่ในข้อ, รอบๆข้อ, ตามตุ่มโทฟัส หรือตามเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น ที่ไต โดยใช้ยาลดกรดยูริกในเลือดซึ่งขณะนี้มี 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่ยาเพิ่มการขับกรดยูริกทางไต และยาลดการสร้างกรดยูริก ซึ่งแพทย์จะพิจารณาใช้ยาชนิดใดนั้นขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาเป็นระยะเวลาหลายปี มีการตรวจเลือดเช็คระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะ โดยเป้าหมายจะต้องให้ระดับกรดยูริกในเลือดต่ำกว่า 5.0-6.0 มิลลิกรัม / เดซิลิตร

คำแนะนำอื่นๆ โรคเก๊าท์มักสัมพันธ์กับการมีโรคร่วมอื่น ได้แก่ ภาวะไขมันสูง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน และโรคอ้วน ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องรับการตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาโรคร่วมด้วยเสมอ ต้องลดน้ำหนักและควบคุมน้ำหนักตัว ดื่มน้ำพอสมควร งดการดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับอาหารนั้นผู้ป่วยโรคเก๊าท์ไม่จำป็นต้องจำกัดอาหารประเภทสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หรือยอดผัก เพราะอาหารประเภทดังกล่าวมีผลทำให้เกิดข้ออักเสบได้น้อย ยกเว้นต้องจำกัดอาหารเพื่อควบคุมความดันโลหิต หรือไขมันเป็นต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคเก๊าท์ควรจะต้องได้รับการประเมินการทำงานของไตและนิ่วของทางเดินปัสสาวะเสมอ

โรคเกาท์ (Gout)

ลักษณะทั่วไป

โรคเกาต์ เป็นโรคปวดข้อเรื้อรังชนิดหนึ่งที่พบได้ไม่น้อย พบในผู้ชายมากกว่า
ผู้หญิงประมาณ 9-10 เท่า ส่วนมากจะพบในผู้ชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป
ส่วนผู้หญิงพบได้น้อย ถ้าพบมักจะเป็นหลังวัยหมดประจำเดือน เป็นโรคที่มีทาง
รักษาให้หายได้ แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย
ได้

สาเหตุ
เกิดจากร่างกายมีกรดยูริก (uric acid) มากเกินไป กรดยูริก เป็นสารชนิดหนึ่ง
ที่เป็นผลมาจากการเผาผลาญสารเพียวรีน (purine ซึ่งมีมากในเครื่องในสัตว์
เนื้อสัตว์ ถั่วต่าง ๆ พืชผัก หน่ออ่อนหรือยอดอ่อน) และการสลายตัวของเซลล์ใน
ร่างกาย จึงเป็นสิ่งที่พบได้เป็นปกติในเลือดของคนเรา และจะถูกขับออกไป
ทางไต แต่ถ้าหากว่าร่างกายมีการสร้างกรดยูริก มากเกินไป หรือไตขับกรด
ยูริกได้น้อยลง ก็จะทำให้มีกรดยูริกคั่งอยู่ในร่างกายมากผิดปกติ ซึ่งจะตกผลึก
สะสมอยู่ตามข้อ ผิวหนัง ไตและอวัยวะอื่น ๆ ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ
ผู้ป่วยส่วนมากมีสาเหตุจากร่างกายสร้างกรดยูริกมากเกินไป เนื่องจากความ
ผิดปกติทางกรรมพันธุ์ จึงมักพบมีพ่อแม่ญาติพี่น้องเป็นโรคนี้ด้วยส่วนน้อย
อาจมีสาเหตุจากร่างกายมีการสลายตัวของเซลล์มากเกินไป เช่น โรคทาลัสซี
เมีย, มะเร็งในเม็ดเลือดขาว , การใช้ยารักษามะเร็งหรือฉายรังสี เป็นต้น หรือ
อาจเกิดจากไตขับกรดยูริกได้น้อยลงเช่น ภาวะไตวาย ตะกั่วเป็นพิษ , ผลจาก
การใช้ยาไทอาไซด์ เป็นต้น

อาการ
มีอาการปวดข้อรุนแรง ซึ่งเกิดขึ้นฉับพลันทันที ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะ
เป็นเพียงข้อเดียว ข้อที่พบมาก ได้แก่ นิ้วหัวแม่เท้า (ส่วนข้อเท้า ข้อเข่า ก็อาจ
พบในผู้ป่วยบางราย) ข้อจะบวมและเจ็บมากจนเดินไม่ไหว ผิวหนังในบริเวณ
นั้นจะตึง ร้อนและแดง และจะพบลักษณะจำเพาะ คือ ขณะที่อาการเริ่มทุเลา
ผิวหนังในบริเวณที่ปวดนั้นจะลอกและคันผู้ป่วยมักเริ่มมีอาการปวดตอนกลาง
คืน และมักจะเป็นหลังดื่มเหล้าหรือเบียร์ (ทำให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง)
หรือหลังกินเลี้ยง หรือกินอาหารมากผิดปกติ หรือเดินสะดุด บางครั้งอาจมี
อาการขณะมีภาวะเครียดทางจิตใจ เป็นโรคติดเชื้อ หรือได้รับการผ่าตัดด้วย
สาเหตุอื่น บางครั้งอาจมีไข้ หนาวสั่น ใจสั่น (ชีพจรเต้นเร็ว) อ่อนเพลีย เบื่อ
อาหาร ในการปวดข้อครั้งแรก มักจะเป็นอยู่เพียงไม่กี่วัน (แม้จะไม่ได้รับการ
รักษาก็จะค่อย ๆ หายไปได้เอง) ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา ในระยะแรก ๆ
อาจกำเริบทุก 1-2 ปี โดยเป็นที่ข้อเดิม แต่ต่อมาจะเป็นถี่ขึ้นเรื่อย ๆ เช่น ทุก
4-6 เดือน แล้วเป็นทุก 2-3 เดือน จนกระทั่งทุกเดือน หรือเดือนละหลายครั้ง
และระยะการปวดจะนานวันขึ้นเรื่อย ๆ เช่น กลายเป็น 7-14 วัน จนกระทั่ง
หลายสัปดาห์หรือปวดตลอดเวลา ส่วนข้อที่ปวดก็จะเพิ่มจากข้อเดียวเป็น 2-3
ข้อ (เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่า ข้อเท้า นิ้วมือนิ้วเท้า) จนกระทั่งเป็นเกือบทุก
ข้อ ในระยะหลัง เมื่อข้ออักเสบหลายข้อ ผู้ป่วยมักสังเกตว่ามีปุ่มก้อนขึ้นที่
บริเวณที่เคยอักเสบบ่อย ๆ เช่นข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ข้อศอก ข้อเข่า รวมทั้งที่หู
เรียกว่า ตุ่มโทฟัส (tophus/tophi) ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของสารยูริก ปุ่มก้อนนี้
จะโตขึ้นเรื่อย ๆ จนบางครั้งแตกออกมีสารขาว ๆ คล้ายช็อล์ก หรือยาสีฟันไหล
ออกมา กลายเป็นแผลเรื้อรัง หายช้า ในที่สุดข้อต่าง ๆ จะค่อย ๆ พิการและใช้
งานไม่ได้

สิ่งตรวจพบ
ข้อที่ปวดมีลักษณะบวมแดงร้อน อาจมีไข้ร่วมด้วย บางคนอาจมีตตุ่มโทฟัส

อาการแทรกซ้อน
ถ้าไม่ได้รับการรักษา อาจกลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง , โรคหัวใจขาดเลือด,
นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (พบได้ประมาณ 25%), ภาวะไตวาย

การรักษา
1. ถ้ามีอาการชัดเจน ให้ ยาเม็ดคอลชิซีน (Colchicine) ขนาด 0.5 มิลลิกรัม
ครั้งแรกให้ 1-2 เม็ดแล้วให้ ซ้ำอีกครั้งละ 1 เม็ดทุก 1 ชั่วโมงเป็นเวลา 8
ชั่วโมง แล้วให้เป็น 1 เม็ดทุก 2 ชั่วโมง จนกว่าจะหายปวด แต่ถ้ามีอาการ
คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเดิน ซึ่งเกิดจากพิษของยาก็ให้หยุดยาเสีย โดยทั่วไป
จะให้ได้ประมาณ 8-20 เม็ด และอาการปวดข้อจะหายใน 24-72 ชั่วโมง ถ้า
มีอาการท้องเดินให้กินยาแก้ท้องเดิน ถ้าไม่มีคอลชิซีน อาจให้ยาต้านอักเสบ
ที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ เช่น อินโดเมทาซิน หรือ ไอบูโพรเฟน ครั้งแรกให้ 2 เม็ด
แล้วให้ 1 เม็ดทุก 6 ชั่วโมง จนกว่าจะหาย แต่ไม่ควรให้นานกว่า 3 วัน และ
ควรกินยาลดกรด ควบด้วยควรให้ผู้ป่วยนอนพัก ดื่มน้ำมาก ๆ ใช้น้ำร้อน
ประคบข้อที่ปวด และลดอาหารที่มีกรดยูริกสูง เมื่ออาการทุเลาแล้ว ควรแนะ
นำไปตรวจที่โรงพยาบาล ซึ่งมักจะให้การดูแลรักษาต่อไป ดังในข้อ 2
2.ในรายที่อาการไม่ดีขึ้นหรืออาการไม่ชัดเจนควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเจาะ
เลือดหาระดับของกรดยูริกในเลือด (ค่าปกติเท่ากับ 3-7 มิลลิกรัมต่อเลือด 100
มล.) และตรวจพิเศษอื่น ๆ ถ้าจำเป็นควรให้ยารักษาแบบเดียวกับข้อ 1 ถ้าไม่
ได้ผลอาจให้สเตอรอยด์ ระหว่างที่ไม่มีอาการปวดข้อ ควรให้ คอลชิซีนวันละ
1-2 เม็ด กินเป็นประจำเพื่อป้องกันมิให้ข้ออักเสบกำเริบรุนแรง และให้ยาลด
กรดยูริกในร่างกาย ซึ่งมีให้เลือกใช้อยู่ 2 ชนิด ได้แก่
ก. ยาขับกรดยูริก เช่นยาเม็ดโพรเบเนซิด (Probenecid) 1-2 เม็ดต่อวัน ผู้ป่วย
ที่กินยานี้ ควรดื่มน้ำมากๆ(ประมาณวันละ 3 ลิตร) เพื่อป้องกันมิให้เกิดนิ่วในไต
เนื่องจากการตกตะกอนของกรดยูริก ยานี้ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในไต หรือมี
ภาวะไตวายนอกจากนี้ผู้ที่กินยานี้ ไม่ควรกินแอสไพริน เพราะจะทำให้ฤทธิ์ใน
การขับกรดยูริกลดน้อยลง
ข. ยาลดการสร้างกรดยูริก เช่น ยาเม็ดอัลโลพูรินอล (Allopurinol) ขนาดเม็ด
ละ100 มิลลิกรัม วันละ 2-3 เม็ด ยานี้อาจทำให้เกิดการแพ้ยารุนแรงได้ (ถ้ากิน
แล้วมีอาการคันตามตัว ควรหยุดยาทันที) และอาจทำให้ตับอักเสบได้ การให้
ยาลดกรดยูริก จะเลือกใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาพของผู้ป่วย ซึ่งจะให้ผู้
ป่วยกินเป็นประจำทุกวันตลอดชีวิต จะช่วยให้สารยูริกที่สะสมตามข้อ และ
อวัยวะต่าง ๆ ละลายหายไปได้ รวมทั้งตุ่มโทฟัสจะยุบหายไปในที่สุด ผู้ป่วยที่ใช้
ยานี้ก็ไม่จำเป็นต้องงดอาหารประเภทเนื้อสัตว์ และเครื่องในสัตว์อย่างเคร่งครัด
สามารถกินอาหารได้ทุกชนิด ในปริมาณที่พอเหมาะกับขนาดของยาที่ใช้ควร
นัดผู้ป่วยไปตรวจเลือด ตรวจหาระดับกรดยูริกในเลือดเป็นระยะๆ

ข้อแนะนำ
1. โรคนี้มักเป็นเรื้อรัง ถ้าหากไม่ได้รับการรักษา มักมีโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง
ควรแนะนำให้ผู้ป่วยรับการรักษาอย่าได้ขาด ควรกินยาตามแพทย์สั่งไปตลอด
ชีวิตและหมั่นตรวจเลือดเป็นระยะ ๆ
2. ในรายที่มีเพียงกรดยูริกในเลือดสูง โดยไม่มีอาการปวดข้อ หรืออาการอื่น ๆ
ก็ไม่ต้องให้ยารักษา ยกเว้นถ้ามีระดับของกรดยูริกสูงเกิน 12 มิลลิกรัมต่อเลือด
100 มล. ก็ควรกินยาลดกรดยูริกเป็นประจำ
3. ข้อปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยโรคเกาต์
3.1 ควรดื่มน้ำมาก ๆ ทุกวัน (อย่างน้อยวันละ 3 ลิตร) เพื่อป้องกันมิให้เกิดนิ่วใน
ไต
3.2 ถ้าอ้วน ควรลดน้ำหนักลงทีละน้อย อย่าลดฮวบฮาบ อาจทำให้มีการสลายตัว
ของเซลล์รวดเร็วและมีการสร้างกรดยูริก ทำให้ข้ออักเสบกำเริบได้
3.3 ขณะที่มีอาการปวดข้อ ควรงดเหล้า เบียร์ และอาหารที่มีกรดยูริกสูง เช่น
เครื่องในสัตว์ทุกชนิด กะปิ น้ำสกัดจากเนื้อ เนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อกระต่าย กุ้ง หอย
กุนเชียง ไส้กรอก เนื้อเป็ด เนื้อห่าน เนื้อไก่ เนื้อไก่งวง ปลาซาร์ดีน ไข่แมงดา
ชะเอม กระถิน แตงกวา หน่อไม้ แอสปารากัส เห็ด ดอกกะหล่ำ ถั่วต่างๆ ถั่วงอก
ยอดแค ดอกสะเดา สาหร่าย ยอดผักต่าง ๆ เป็นต้น (แต่ถ้าไม่มีอาการปวดข้อ
และกินยาลดกรดยูริกอยู่เป็นประจำ ก็ไม่ต้องงดอาหารเหล่านี้อย่างเคร่งครัด)
3.4 ยาบางชนิดอาจมีผลต่อการรักษาโรคนี้ เช่น แอสไพริน หรือยาขับปัสสาวะ
ไทอาไซด์ อาจทำให้ร่างกายขับกรดยูริกได้น้อยลง ดังนั้นจึงไม่ควรซื้อยากินเอง
ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนจะใช้ยา
4. ผู้ที่มีญาติพี่น้องเป็นโรคเกาต์ ควรตรวจเช็กเลือดเป็นระยะ

รายละเอียด
ผู้ป่วยโรคเกาต์ ถ้ากินยาทุกวัน สามารถกินอาหารได้เช่นคนปกติ

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์

โรคเก๊าท์เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ เกิดจากความผิดปกติในการใช้สารพวก
พิวรีน ทำให้เกิดสารยูริคสูงในเลือด และจะสะสมในข้อโดยเฉพาะข้อเล็กๆ
เช่น ข้อนิ้วเท้า ข้อนิ้วมือ ทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง ร้อน ในข้อ

การใช้ยารักษาโรคเกาท์จะช่วยทำให้อาการของโรคดีขึ้นและช่วยขับกรด
ยูริค ออกจากร่างกาย แต่การทานอาหารที่ถูกต้องจะช่วยบรรเทาให้อาการ
ลดลง และไม่กำเริบบ่อย หลักในการจัดอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเก๊าท์ มี
ดังนี้


ทานอาหารที่มีพิวรีนน้อยหรือไม่มีพิวรีน ได้แก่ นม ไข่ ฯลฯ
งดเว้นอาหารที่มีพิวรีนมาก เช่น เครื่องในสัตว์ ปลาซาร์ดีน ฯลฯ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีพิวรีนปานกลาง เช่น สัตว์ปีก อาหารทะเล
อาหารที่ปรุงไม่ควรใส่ผงชูรส หลีกเลี่ยง อาหารทอด น้ำต้มเนื้อ
เช่นก๊วยเตี๋ยวน้ำ

อาหารพิวรีนมาก
(50 – 150 มก./อาหาร 100 กรัม)
อาหารพิวรีนปานกลาง
(มากกว่า 15 มก./อาหาร 100 กรัม)
อาหารพิวรีนน้อย
(0 – 15 มก./อาหาร 100 กรัม)
ตับอ่อน
ตับ

ไต
มันสมอง

ปลาแอนโชวี่
ปลาซาร์ดีน
น้ำต้มเนื้อ
น้ำเกรวี่หรือซุบไก่ เนื้อสัตว์

ปลา
อาหารทะเล

หน่อไม้ฝรั่ง
ผักโขม
ดอกกระหล่ำ

ข้าวไม่ขัดขาว
น้ำตาลและขนมหวาน

ในคนที่อ้วนควรลดน้ำหนักโดยทานอาหารให้มีพลังงานต่ำประมาณวันละ 1,200 – 1,500 แคลอรี

ควรจำกัดอาหารที่มีไขมันสูงเพราะอาจกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ ควรงดเครื่องดื่มพวกโกโก ช็อคโกแลต
ควรทานนมพร่องมันเนย

งดการดื่มสุราส่วนกาแฟอาจทานได้บ้างพอประมาณ

ควรทานผักใบเขียวที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อทดแทนธาตุเหล็กที่ขาดเนื่องจากการงดทานเนื้อสัตว์

โดย พญ.รุ่งทิพย์ วรรณวิมลสุข แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว

American College of Rheumatology,
NZ Arthritis Foundation
WHAT IS GOUT?

Known as "the disease of kings and the king of diseases," gout has been studied by physicians and has caused suffering in countless humans at least since the days of Hippocrates. Formerly a leading cause of painful and disabling chronic arthritis, gout has been all but conquered by advances in research. Unfortunately, many people with gout continue to suffer because knowledge of effective treatments has been slow to spread to patients and their physicians.

CAUSE

Gout is caused by an excess of uric acid in the body. This excess can be caused by an increase in production by the body, by under-elimination of uric acid by the kidneys or by increased intake of foods containing purines which are metabolized to uric acid in the body. Certain meats, seafood, dried peas and beans are particularly high in purines. Alcoholic beverages may also significantly increase uric acid levels and precipitate gout attacks.

With time, elevated levels of uric acid in the blood may lead to deposits around joints. Eventually, the uric acid may form needle-like crystals in joints, leading to acute gout attacks. Uric acid may also collect under the skin as tophi or in the urinary tract as kidney stones.

DIAGNOSIS

Since several other kinds of arthritis can mimic a gout attack, and since treatment is specific to gout, proper diagnosis is essential. The definitive diagnosis of gout is dependent on finding uric acid crystals in the joint fluid during an acute attack. However, uric acid levels in the blood alone are often misleading and may be transiently normal or even low. Additionally, uric acid levels are often elevated in individuals without gout.

TREATMENT

Since the 1800s, colchicine has been the standard treatment for acute gout. While colchicine is very effective, it often causes nausea, vomiting and diarrhea. These side effects are uncommon when this drug is given intravenously. Because of the unpleasant side effects of colchicine, non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) have become the treatment of choice for most acute attacks of gout. The NSAID that is most widely used to treat acute gout is indomethacin. NSAIDs may also have significant toxicity, but if used for the short-term, are generally well tolerated. Aspirin and aspirin-containing products should be avoided during acute attacks.

Therapy directed at normalizing uric acid levels in the blood should be considered for patients who have had multiple gout attacks or have developed tophi or kidney stones. Several drugs that help the kidneys eliminate uric acid are available, such as probenecid, and a drug that blocks production of uric acid by the body, such as alopurinol. The choice between these two types of drugs depends on the amount of uric acid in the urine. With correct treatment, gout should be well controlled in almost all cases.

Treatment of Gout
The first step wherever possible must be to correct those factors mentioned above which give rise to high uric acid levels. Purines are substances found in food, which, when broken down produce a lot of uric acid. Therefore the following foods which are high in Purines should be restricted or avoided:

  • Offal foods such as liver, kidneys, tripe, sweetbreads and tongue.
  • Excessive amounts of red meat.
  • Shellfish, fish roe and scallops.
  • Peas. lentils and beans.
  • Alcohol intake should be reduced. Two glasses of beer a day or less is sensible. On special occasions vou can drink more.
  • Weight loss may be very important.
  • Medication for high blood pressure may need to be altered.

Treating the Acute Attack

One or other of the anti-inflammatory drugs (NSAIDSs) can be very effective but to gain the best results the dose should be adequate and the drug taken as soon as possible at the first sign of an attack. Hence medical advice must be sought early. With effective treatment the attack may be controlled within 12-24 hours and treatment need not be continued after a few days. Rest and elevation of the part involved and a fluid intake increased by an extra 4 or 5 glasses of water a day. are also important. Drugs used for the acute attack have no effect on reducing uric acid levels.

How to Lower Uric Acid (Hyperuricaemia)

If in spite of all the measures above the uric acid remains high and attacks continue or become more frequent, other drugs can be used which directly lower the blood uric acid. However, it must be understood that these drugs have no effect on the actual attacks of acute gout and they must be taken on a continuous and long term basis. The dose must be adjusted by repeated checks on the blood uric acid before a permanent maintenance dost can be decided on. Once the uric acid is down within normal limits, the patient should remain free from gout provided the drug is continued. Some drugs work by increasing elimination via the kidneys and others by blocking uric acid formation.

It is also very important for patients beginning such drugs to realise that for the first few months of treatment, gouty attacks can become more severe and frequent. This is usually controlled by taking one or two tablets a day of an additional drug for at least several months and if any acute attacks do appear they must be treated in the usual way and the long term medicines continued.

THE RHEUMATOLOGIST’S ROLE IN THE TREATMENT OF GOUT

Historically, gout has been a major cause of destructive and disabling arthritis. Today, it represents a victory for medical investigation. Through the research of rheumatologists, gout is one of the success stories for modern medicine. As experts in treating gout, rheumatologists serve as educators of patients with gout and their physicians.

You Can Help Yourself Get Rid of the Pain
Here are a few tips to help you:

  • Your doctor will give you pills to take.
  • Take them every day.
  • If you think the pills make you feel worse talk to the doctor about changing the tablets but DONT STOP TAKING THEM.
  • Try to keep your weight down.
  • Ask your doctor or health worker to give you good advice about diets that will help you do this.
  • Some foods will make your Gout much more painful. Try to cut down or avoid:
    • Red meats which come from cows or sheep and include steak, chops, corned beef and larger pieces of meat usually roasted in the oven.
    • Brains, kidneys, liver & heart (offal).
    • Shelifish such as pauas, pipis, mussels, oysters and sea eggs.
    • Peas and beans.
    • Alcohol. especially beer and wine.
The pain caused by Gout will go away. If you are careful you can avoid having more bad attacks of Gout


โรคเกาท์ (Gout)

โรคเก๊าท์ (Gout)

เก๊าท์เป็นสาเหตุที่พบเป็นอันดับหนึ่งของโรคข้ออักเสบ (inflammatory arthritis diseases) มีอุบัติการณ์ประมาณ 5 ใน 1000 ของประชากรที่มีอายุมากกว่า 15 ปี นับเป็นโรคข้ออักเสบเพียงชนิดเดียวที่มียารักษาจำเพาะรักษาง่ายและได้ผลดี แต่เป็นที่น่าเสียดายว่าผู้ป่วยโรคเก๊าท์ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการดูแลรักษา่ถูกต้อง กลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังที่มีภาวะทุพลภาพและมีไตพิการแทรกซ้อนมากกว่าร้อยละ 50

คำจำกัดความ
โรคเก๊าท์ เป็นโรคข้ออักเสบที่เกิดจากการสะสมของผลึกของกรดยูริก (monosodium urate) ในข้อและเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย เป็นผลสืบเนื่องจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง (hyperuricemia) อยู่เป็นเวลานานนับสิบปี
Hyperuricemia หมายถึงภาวะที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าค่าปกติ (ผู้ชาย > 7 mg%. ผู้หญิง > 6 mg%) การตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงอย่างเดียวโดยไม่มีอาการ (asymptomatic hyperuricemia) ไม่ควรวินิจฉัยว่าเป็นโรคเก๊าท์ จะเรียกว่าเป็นโรคเก๊าท์ก็ต่อเมื่อมีอาการข้ออักเสบที่เกิดจากตกผลึกของกรดยูริกภายในขแล้วเท่านั้น จากการติดตามในระยะยาวพบว่าเพียงร้อยละ 30 ของผู้ที่ตรวจพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูงจะเกิดมีข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ในอนาคต ที่เหลืออีกร้อยละ 70 ไม่มีอาการใดๆตลอดชีวิต สรุปได้ว่าส่วนใหญ่ของผู้ที่บังเอิญตรวจพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูงไม่เป็นโรคเก๊าท

ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์ ได้แก่
1. พันธุกรรม ถ้าตรวจพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูงร่วมกับมีประวัติครอบครัวเป็นโรคเก๊าท์จะเสี่ยงการเกิดโรคเก๊าท์ในอนาคต
2. เพศ มากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์เป็นผู้ป่วยชายที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป ในเพศหญิงจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์น้อยมากยกเว้นวัยหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่อระดับกรดยูริกในเลือด
3. ระดับกรดยูริกในเลือด ผู้ที่ตรวจพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูง > 9 mg% จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเก๊าท์มากกว่าผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเล็กน้อย
อาหารประชากรส่วนใหญ่เข้าใจว่าการกินอาหารทีมีระดับกรดยูริกสูง เช่น สัตว์ปีกหรือเครื่องในสัตว์จะทำให้เป็นโรคเก๊าท์ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง การกินอาหารที่มี purine สูง ไม่ได้เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเก๊าท์ในคนปกติ แต่อาจกระตุ้นให้ข้ออักเสบกำเริบขึ้นได้ในคนที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคเก๊าท์อยู่
การมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงมากๆเป็นผลจากความผิดปกติของ uric acid metabolism ที่เกิดขึ้นเองในร่างกาย (endogenous source) มากกว่าที่จะเกิดจากการได้รับกรดยูริกจากอาหารที่มี purine สูง (exogenous source) ผลจากการกินอาหารที่มี purine สูงจะทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงขึ้นจากเดิมได้ไม่เกิน 1-2 mg %



ลักษณะทางคลินิก
ผลจากการมีระดับกรดยูริกในเลือดสูง ก่อให้เกิดอาการทางคลินิกที่สำคัญคือ ข้ออักเสบ (gouty arthritis) เกิดก้อน tophi ใต้ผิวหนัง และเกิดเป็นโรคไตที่เกิดจากเก๊าท์ (gouty nephropathy)
1. ข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ (gouty arthritis) ก่อนที่จะมีการรักษาที่ถูกต้อง อาจแบ่งการดำเนินโรคเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) asymptomatic hyperuricemia, (2) acute gouty attack, (3) intercritical period,และ (4) chronic tophaceous gout
1.1 Asymptomatic hyperuricemia ส่วนใหญ่เป็นการวินิจฉัยย้อนหลัง เนื่องจากผู้ป่วยยังไม่มีอาการเพียงแต่ตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงอย่างเดียว
การวินิจฉัยแยกโรค : ต้องวินิจฉัยแยกจากภาวะ secondary hyperuricemia คือมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเนื่องจากโรคบางชนิดที่ทำให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูง เช่น โรคสะเก็ดเงิน, myeloproliferative disorder หรือได้รับยาบางชนิด เช่น ยาขับปัสสาวะชนิด thiazide หรือ ยารักษาวัณโรค เป็นต้น
Acute gouty attack ลักษณะเด่นคือผู้ป่วยจะมาด้วย acute monoarthritis ที่มี abrupness of onset เกิดข้ออักเสบอย่างเฉียบพลันขึ้นมาทันทีโดยก่อนหน้านี้สบายดีมาตลอด มักเกิดตอนเช้าหลังตื่นนอน ส่วนใหญ่เป็นที่ข้อเท้าหรือนิ้วหัวแม่เท้า แต่จะเป็นที่ข้ออื่น ๆ ก็ได้ อาการปวดจะทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาเป็นชั่วโมงกระทั่งขยับหรือเดินไม่ได้ สร้างความทุกข์ทรมานแก่ผู้ป่วยมากกระทั่งต้องมาพบแพทย์ตั้งแต่วันแรก บางครั้งอาจมีไข้ร่วมด้วย
ปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดข้ออักเสบกำเริบ ได้แก่ (1) ได้รับบาดเจ็บที่ข้อซึ่งไม่จำเป็นต้องรุนแรง (2) เครียดจากการเจ็บป่วยหรือหลังผ่าตัด (3) กินอาการที่มี purine สูงเช่นสัตว์ปีกหรือยอดผัก (4) การดื่มสุรา (5) ได้รับยาบางชนิด (เช่น thiazide diuretic, aspirin, anti-TB drug แม้กระทั่ง allopurinol)
หลังจากเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันแล้ว แม้ไม่ได้รับการรักษาข้อที่อักเสบจะค่อยๆดีขึ้นหายได้เองในระยะเวลา 1 สัปดาห์ แต่ถ้าได้รับการรักษาด้วยยาต้านอักเสบข้ออักเสบจะหายเร็วขึ้น
ผู้ป่วยบางรายเกิดข้ออักเสบขึ้นเพียงครั้งเดียวและไม่เป็นอีกเลยตลอดชีวิต แต่ส่วนใหญ่มักเกิดซ้ำภายใน 1 ปีและเป็นๆหายๆ การอักเสบครั้งหลัง ๆจะรุนแรงมากขึ้น หายช้าลง และอาจเกิดขึ้นพร้อมกันทีเดียวหลายข้อ (acute polyarthritis)
การวินิจฉัยแยกโรค
ระยะที่เป็น aucte monoarthritis ต้องวินิจฉัยแยกจาก
1. Septic arthritis เป็น acute monoarthritis เหมือนกัน แต่มักเกิดกับข้อใหญ่ ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ไม่ค่อยเป็นที่ข้อเล็กๆตามนิ้วมือนิ้วเท้า ข้ออักเสบแม้จะเป็นเฉียบพลันแต่ไม่ถึงกับเป็นขึ้นมาทันทีทันใดเหมือนโรคเก๊าท์ การอักเสบจะค่อยทวีความรุนแรงขึ้นในเวลาเป็นวันๆ ร่วมกับมีไข้สูง หนาวสั่น ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ภายในสัปดาห์แรก ช้ากว่าโรคเก๊าท์
2. Pseudogout อาการเหมือนข้ออักเสบจากโรคเก๊าท์ทุกอย่าง พบในผู้หญิงได้บ่อยกว่า ต้อวินิจฉัยแยกกันจากการตรวจดูผลึกในน้ำไขข้อพบเป็นผลึกของ calcium pyrophosphate แทนที่จะเป็น uric acid
3. Traumatic arthritis แยกจากกันจากประวัติที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรงก่อนหน้าที่จะเกิดข้อบวม ผลการเจาะข้อมักได้เลือด
1.2 Intercritical period เป็นระยะที่ข้ออักเสบหายสนิท ระยะนี้ผู้ป่วยจะสบายดีทุกอย่างราวกับว่าไม่เคยมีปวดข้อรุนแรงมาก่อน ซึ่งอาจนานเป็นปีในระยะแรก หรือไม่เคยมีอาการอีกเลยตลอดชีวิตหากได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง แต่ถ้าไม่ได้รับการรักษาปล่อยให้ข้ออักเสบเป็นซ้ำบ่อยๆระยะนี้จะสั้นลงเรื่อย ๆ และในที่สุดจะไม่มีระยะที่ข้ออักเสบหายสนิทอีก
1.3 Chronic tophacous gout เป็นระยะที่กลายเป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรังหลายๆข้อ ไม่เคยหายขาด ข้ออักเสบกำเริบรุนแรงขึ้นมากบ้างน้อยบ้างสลับกันไป มีการทำลายของกระดูกข้อต่อเพิ่มมากขึ้น มีก้อน tophi (จากการสะสมของผลึกกรดยูริกใต้ผิวหนัง) เกิดขึ้นบริเวณข้อศอก เท้าแขน ตาตุ่ม นิ้วมือและนิ้วเท้า ถ้าก้อนนี้แตกออกจะเห็นของเหลวขาวข้นคล้ายชอล์กหรือยาสีฟันไหลออกจากก้อน เป็นระยะสุดท้ายของโรคเก๊าท์ที่มักจะตรวจพบภาวะไตพิการร่วมด้วย
การวินิจฉัยแยกโรค ระยะนี้ต้องวินิจฉัยแยกจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เพราะอาจมี hand defomity เลี่ยนแบบโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ทุกอย่าง ถ้าตรวจพบก้อนใต้ผิวหนังต้องวินิจฉัยแยกจาก rheumatoid nodule
2. โรคไตที่เกิดจากเก๊าท์ (gouty nephropathy) มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะคือ
2.1 นิ่วทางเดินปัสสาวะ (uric acid nephropathy) พบประมาณร้อยละ 10-25 ของผู้ป่วยโรคเก๊าท์ ผู้ป่วยร้อยละ 40 เกิดอาการของนิ่วไตก่อนที่จะเกิดข้ออักเสบ อุบัติการของการเกิดนิ่วไตจะสูงขึ้นตามระดับกรดยูริกในเลือด ถ้ามีระดับกรดยูริกในเลือดมากกว่า 13 mg% จะมีโอกาสเกิดนิ่วไตได้สูงถึงร้อยละ 50 ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการที่เกิดจากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ การวินิจฉัยอาจต้องอาศัยการส่งตรวจอุลตราซาวด์เนื่องจากนิ่วจากผลึกกรดยูริกไม่สามารถเห็นได้จากภาพถ่ายรังสีปกติ อย่างไรก็ตามพบว่าผู้ป่วยโรคเก๊าท์จะเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วจากผลึกแคลเซี่ยมมากกว่าคนด้วยซึ่งนิ่วชนิดนี้มองเห็นได้จากภาพถ่ายรังสีปกติ
2.2 Interstitial nephropathy (urate nephropathy) เกิดจากการสะสมของเกลือยูเรตในชั้น interstitial ของเนื้อไต พยาธิสภาพดังกล่าวไม่ส่งผลเสียต่อการทำงานของไตมากนัก

การวินิจฉัย
1. ต้องเจาะตรวจน้ำไขข้อ: จะวินิจฉัยว่าข้ออักเสบนั้นเกิดจากโรคเก๊าท์ได้แน่นอนก็ต่อเมื่อ ตรวจน้ำไขข้อพบผลึกรูปเข็มภายใน PMN หรือตรวจพบผลึกรูปเข็มจากสารสีขาวที่ดูดได้จากก้อน tophi
2. กรณีที่เจาะตรวจน้ำไขข้อไม่ได้ เช่น ข้ออักเสบเกิดขึ้นกับข้อเล็กๆที่นิ้วเท้าหรือหลังเท้า อาจวินิจฉัยได้จากผลการตอบสนองดีต่อการรักษาด้วย colchicine

ข้อควรระวังในการวินิจฉัยโรคเก๊าท์:
1. ห้ามวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเก๊าท์จากการตรวจพบว่ามีระดับกรดยูริกในเลือดสูงแต่เพียงย่างเดียว
2. ยังไม่ควรวินิจฉัยว่าเป็นโรคเก๊าท์ในกรณีที่ให้การรักษาด้วย NSIADs แล้วดีขึ้น เพราะ NSAIDs เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่มีความจำเพาะ ข้ออักเสบเฉียบพลันที่มีลักษณะทางคลินิกคล้ายเก๊าท์ เช่น pseudogout หรือ apatite induced arthritis จะตอบสนองดีต่อการรักษาด้วย NSAIDs ได้เช่นกัน


โรคที่มักพบร่วมกับโรคเก๊าท์ (associated diseases)
1. โรคความดันโลหิตสูง
2. ภาวะไขมันในเลือดสูง (hypertriglyceridemia)
3. เบาหวาน
4. ภาวะแทรกซ้อนเนื่องจาก premature artherosclerosis เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดตายเฉียบพลัน หลอดเลือดสมองอุดตัน
ทั้งหมดนี้เป็นโรคที่พบร่วมกัน แต่ไม่ได้สัมพันธ์กันในแง่พยาธิกำเนิด

การรักษา
หลักการรักษาโรคเก๊าท์ประกอบด้วย
1. การรักษาข้ออักเสบเฉียบพลัน
2. การป้องกันไม่ให้เกิดข้ออักเสบกำเริบ
3. การลดระดับยูริกในเลือด
4. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ข้ออักเสบกำเริบ
5. การรักษาอื่นๆนอกเหนือจากการใช้ยาลดกรดยูริกในเลือด
6. การรักษาโรคที่พบร่วมด้วย

1. การรักษาข้ออักเสบเฉียบพลันจากโรคเก๊าท์: รักษาด้วย colchicine หรือ NSAIDs
1.1 colchicine เป็นยาที่ specific สำหรับการรักษาข้ออักเสบจากเก๊าท์ ได้ผลดี อาการข้างเคียงไม่รุนแรง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เริ่มปวดข้อมาไม่เกิน 6-12 ชั่วโมง ให้กิน 1 เม็ด (0.6 มก.) 3 เวลาหลังอาหารในวันแรก ถ้าอาการดีขึ้นให้ลดขนาดลงเหลือ 1 เม็ด 2 เวลากระทั่งหายสนิทจึงหยุดยา โดยทั่วไปมักกินยาไม่เกิน 1 สัปดาห์ อาการข้างเคียงที่พบบ่อยคือท้องเดินโดยเฉพาะในวันแรกๆที่กินในขนาดสูง อาการจะหายได้ถ้าลดขนาดยาลงหรือหยุดยา
1.2 NSAID เป็นยาที่ไม่ specific ระงับการอักเสบในโรคเก๊าท์ได้ดีมาก เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมานานกว่า 1-2 วัน ในวันแรกๆให้กินในขนาดสูง ลดขนาดยาลงถ้าอาการดีขึ้น และหยุดยาเมื่อหายสนิท โดยทั่วไปผู้ป่วยจะหายได้ภายใน 1 สัปดาห์ ก่อนใช้ NSAIDs ในผู้ป่วยโรคเก๊าท์ต้องแน่ใจว่าผู้ป่วยไม่มีภาวะไตพิการร่วมด้วย เพราะการใช้ NSAID ในขนาดสูงอาจทำให้ไตวายเฉียบพลันได้
2. การป้องกันไม่ให้ข้ออักเสบกำเริบ ผู้ป่วยที่มีข้ออักเสบเป็น ๆ หาย ๆเกือบทุกเดือน ควรป้องกันโดยให้กิน colchicine วันละ 1 เม็ดหรือไม่เกิน 2 เม็ดต่อวันต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน แต่สำหรับผู้ที่เป็นปีละ 1-2 ครั้งอาจไม่จำเป็นต้องกินยาป้องกัน
3. การลดระดับกรดยูริกในเลือด: ไม่ควรเริ่มยาขณะที่ยังมีข้ออักเสบเพราะจะทำให้การอักเสบรุนแรงขึ้นและหายช้าลงต้องรอใหข้ออักเสบหายสนิทก่อนจึงพิจารณาเริ่มยา ควรเริ่มยาในขนาดต่ำแล้วค่อยปรับยาขึ้นเป็นระยะ ๆ ตามระดับกรดยูริกในเลือดจนกว่าจะได้ระดับที่ต้องการคือ ~ 5.5 mg% ยาที่ใช้มีอยู่ 2 กลุ่ม คือ
3.1 ยาที่เร่งการขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ (uricosuric drugs) ได้แก่ probenecid และ benzbromarone ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีนิ่วไต มีภาวะไตวาย หรือมีการขับกรดยูริกออกทางไตมากอยู่แล้ว (hyperexcretor)
3.2 ยาที่ช่วยยับยั้งการสร้างกรดยูริกในเลือด (xanthine oxidase inhibitor) ได้แก่ allopurinol
4. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้ข้ออักเสบกำเริบ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ระวังเรื่องการใช้ยาบางชนิด ระหว่างที่กำลังปรับยาเพื่อควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดแนะนำให้ผู้ป่วยควบคุมอาหารที่มี purine สูงชั่วคราวก่อน แต่ถ้าควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดได้ดีแล้วให้กินอาหารตามปกติได้
5. การรักษาอื่น ๆ แนะนำให้ผู้ป่วยดื่มน้ำมาก ๆ ประมาณ 3000 ซีซี ต่อวัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ งดสุรา ถ้าอ้วนให้ควบคุมอาหารและลดน้ำหนัก อาจให้กิน sodium bicarbonate เพื่อปรับให้ปัสสาวะเป็นด่าง (pH ~ 7) เพื่อลดการตกตะกอนของเกลือกยูเรตในเนื้อไต วิธีการนี้เหมาะในการรักษาผู้ป่วยที่ตรวจพบว่ามีกรดยูริกในเลือดสูงที่ไม่มีอาการ (asymptomatic primary hyperuricemia)
6. ให้การรักษาโรคที่พบร่วมด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน นิ่วไต การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ ไตพิการหรือไตวาย ต้องให้ความสำคัญกับโรคเหล่านี้และให้การรักษาควบคู่ไปกับการรักษาโรคเก๊าท์ เนื่องจากเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญที่สุดในผู้ป่วยโรคเก๊าท์

หนังสือและเอกสารอ่านเพิ่มเติม
1. ศิรภพ สุวรรณโรจน์, รัตนวดี ณ นคร. การรักษาโรคเก๊าท์ในเวชปฏิบัติ. ศรีนครินทร์เวชสาร; 2541; 13:
2. ตำราโรคข้อ 2548 : สมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย